top of page

                     CBI

(Content-based instruction)

 In recent years content-based instruction has become increasingly popular as a means of developing linguistic ability. It has strong connections to project work, task-based learning and a holistic approach to language instruction and has become particularly popular withinthe state school secondary (11 - 16 years old) education sector.

 

What is content-based instruction?

       The focus of a CBI lesson is on the topic or subject matter. During the lesson students are focused on learning about something. This could be anything that interests them from a serious science subject to their favourite pop star or even a topical news story or film. They learn about this subject using the language they are trying to learn, rather than their native language, as a tool for developing knowledge and so they develop their linguistic ability in the target language. This is thought to be a more natural way of developing language ability and one that corresponds more to the way we originally learn our first language.

 

 

What does a content-based instruction lesson look like?

There are many ways to approach creating a CBI lesson. This is one possible way.
- Preparation
Choose a subject of interest to students.
Find three or four suitable sources that deal with different aspects of the subject. These could be websites, reference books, audio or video of lectures or even real people.
- During the lesson
Divide the class into small groups and assign each group a small research task and a source of information to use to help them fulfil the task.
Then once they have done their research they form new groups with students that used other information sources and share and compare their information.
There should then be some product as the end result of this sharing of information which could take the form of a group report or presentation of some kind.
 
What are the advantages of content-based instruction?

         It can make learning a language more interesting and motivating. Students can use the language to fulfil a real purpose, which can make students both more independent and confident.
       Students can also develop a much wider knowledge of the world through CBI which can feed back into improving and supporting their general educational needs.
       CBI is very popular among EAP (English for Academic Purposes) teachers as it helps students to develop valuable study skills such as note taking, summarising and extracting key information from texts.
       Taking information from different sources, re-evaluating and restructuring that information can help students to develop very valuable thinking skills that can then be transferred to other subjects.
       The inclusion of a group work element within the framework given above can also help students to develop their collaborative skills, which can have great social value.

Excerpted from: http://www.teachingenglish.org.uk/articles/content-based-instruction

 
Principles of Content-Based Instruction 
 
   In this module, you will be introduced to the principles (that is, the foundations or assumptions) that underlie content-based instruction (CBI) in second or foreign language contexts. These principles include the theoretical and research base that informs the field of CBI.    CBI is fundamentally a curricular approach or framework, not a method. The focus of most foreign language curricula is on learning about language rather than learning to use language for meaningful communication about relevant content. CBI, in contrast, is an approach to curriculum design that seeks to reach a balance between language and content instruction with an emphasis “on using the language rather than on talking about it” (Lightbown & Spada, 1999, p. 92). This is not to say that there is never an emphasis on the language itself in CBI; on the contrary, CBI at its best integrates a focus on language in the context of content instruction. It has a “dual commitment to language- and content-learning objectives” (Stoller, 2004, p. 261).       In this module, teachers will be introduced to the key principles that underlie CBI through readings and comprehension activities. In “Content-Based Instruction: Defining Terms, Making Decisions," Mimi Met provides an overview of the principles and introduces the notion that CBI programs reside on a continuum ranging from programs that are content-driven to those that are language-driven. Interactive activities ask teachers to identify the characteristics of language- and content-driven programs and determine where programs fall on the continuum.        The reading by Fred Genesee reviews research from the field of immersion education and identifies important lessons that can be learned from this CBI model. The guided comprehension activity serves as an opportunity for teachers to check on the reading and reflect on what they’ve learned.       The third reading in this module, by Bill Grabe and Fredricka Stoller, provides the research base that underlies CBI. Grabe and Stoller review a vast array of the research literature both within and outside the field of language education to establish the strong support that exists for this curricular approach. This reading is also supported by a guided comprehension activity.Excerpted from: http://carla.acad.umn.edu/cobaltt/modules/principles/

 

การสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา

 (Content - Based Instruction : CBI)

         การเรียนภาษาต่างประเทศจะได้ผลมากที่สุดถ้าครูสอนให้ผู้เรียนใช้ภาษาในสถานการณ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ทั้งครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนภาษาที่ม่งุให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ จะจัดการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง ครูสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยส่วนใหญ่สอนทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในระดับพื้นฐาน (Basic Interpersonal Communication Skills) ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหน้าที่ (Functions) ในสถานการณ์ซึ่งครูจำลองให้เหมือนชีวิตประจำวันมากที่สุด เช่นการซื้อของ การถามหรือการบอกทิศทาง การแนะนำตัวเอง เป็นต้น การสอนลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสื่อสารได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจำนวนมากจะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ไม่ว่าจะศึกษาต่อในสาขาวิชาใดก็ตามผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (Academic English) เพื่อศึกษาหาความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาการ การสอนภาษาโดยเน้นเพียงการสื่อสารในชีวิตประจำวัน จึงไม่สามารถเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาหาความรู้ต่อไป
         ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนภาษา ได้ศึกษาเปรียบเทียบการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ สรุปว่า ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในระดับพื้นฐานได้ หลังจากการเรียนในระยะเวลา 2 ปีแต่ผู้เรียนไม่สามารถใช้ภาษาเชิงวิชาการได้ (Grabe และ Stoller, 1997, Cummins, 1983, 1989) ซึ่งถ้าผู้เรียนต้องการพัฒนาทักษะภาษาเชิงวิชาการด้านพุทธิพิสัย หรือ Cognitive Academic Language Proficiency (CALP) จะต้องใช้เวลาเรียนถึง 7 ปี (Cummins 1983, 1989) นอกจากนี้Cummins ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ผู้เรียนส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่ผู้เรียนย่อมจะมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงควรเริ่มสอนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ โดยเน้นวิธีการสอนที่ใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาในระดับมัธยมศึกษา

 

     Brinton, Snow และ Wesche (1989) ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา หรือที่เรียกว่า Content – Based Instruction (CBI) ว่าเป็นการสอนที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหาพร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครูไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form) หน้าที่ของภาษา (Function) และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้ การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา (Brinton, Snow, Wesche, 1989) แนวการสอนแบบนี้ ครูจะประสานทักษะทั้งสี่ให้สัมพันธ์กับหัวเรื่อง (Topic) ที่กำหนดในการเลือกหัวเรื่องครูจะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนมีทักษะและกลวิธีการเรียน (Learning Strategies) ที่จำเป็นเพื่อที่จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ การสอนภาษาแนวนี้เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเป็นการฝึกกลวิธีการเรียนภาษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจความหมายของภาษาและสามารถนำกลวิธีนี้ไปใช้ได้ตลอด ส่วนเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ครูสามารถปรับแต่งให้มีความหลากหลายมากขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนในแนวนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านการฝึกทักษะทางภาษา กิจกรรมเป็นแบบทักษะสัมพันธ์ที่สมจริง ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เรียนได้ฟังหรืออ่านบทความที่ได้จากสื่อจริง (Authentic Material) แล้วผู้เรียนไม่เพียงแต่ทำความเข้าใจข้อมูลเท่านั้น แต่จะต้องตีความและประเมินข้อมูลนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นผู้เรียนจะต้องรู้จักการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะสามารถพูดหรือเขียนเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้ จะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะได้ฝึกทั้งทักษะทางภาษา (Language Skills) และทักษะการเรียน (Study Skills) ซึ่งจะเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในสถานการณ์จริงในอนาคต
          แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ CBI มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อหาความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างไปจากการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยมีแนวการเรียนการสอนที่สำคัญดังนี้ คือ
- การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – Centered Approach)
- การสอนที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาษา (Whole Language Approach)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project – Based Learning)

         นอกจากนี้ยังเน้นหลักสำคัญว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดี ถ้ามีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง และผู้เรียนจะใช้ภาษามากขึ้นถ้ามีความสนใจในเนื้อหาที่เรียน ดังนั้นผู้เรียนจึงต้องนำเนื้อหาที่เป็นจริงและสถานการณ์การเรียนรู้ที่สมจริงมาให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษา เพื่อที่จะทำความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยผู้เรียนสามารถใช้พื้นความรู้เดิมของตนในภาษาไทยมาโยงกับเนื้อหาของวิชาในภาษาอังกฤษ และที่สำคัญที่สุด คือ แนวการสอนแนวนี้ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น สามารถวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลที่ได้จากเนื้อหาที่เรียน และใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ ฉะนั้นการเรียนการสอนวิธีนี้จึงเหมาะสมกับการสอนภาษาในระดับประถมศึกษา

Excerpted from: http://wilawun544.blogspot.com/2011/04/curriculum-and-instruction-in-english_25.html

 

 

ตัวอย่างการสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา

 (Content - Based Instruction : CBI)

 

bottom of page